การฟาร์มเหรียญ Cake ด้วยการกู้ Bitcoin บน Alpaca Finance
บทความนี้ประกอบด้วย
- รายละเอียดเกี่ยวกับเหรียญ CAKE
- การออม CAKE ในรูปแบบต่างๆ
- การ Leverage Farming ใน Alapca Finance
- สรุป
ผู้ที่มีความเข้าใจในรายละเอียดของ CAKE, การ Hedging และการใช้ Leverage Farming ใน Alpaca แล้วข้ามไปพาร์ทท้ายๆได้เลยครับ
Pancakeswap และ CAKE
ใครก็ตามที่เข้าวงการ Defi ในช่วงนี้น่าจะต้องเคยได้ยินเหรียญ Cake ซึ่งมาจาก Platform Pancakeswap กันไม่มากก็น้อยนะครับ เพราะ Pancakeswap ถือว่าเป็น Decentralized Exchange (DEX) ในฝั่งของ Binance Smart Chain (BSC) ที่ใหญ่ที่สุดแล้ว และถ้าเทียบปริมาณการซื้อขายต่อวันก็เป็นรองเพียงแค่ Uniswap ของฝั่ง Ethereum Chain เท่านั้น
และในขณะนี้ Pancakeswap ได้มีการแจกเหรียญ Governance token สำหรับผู้ที่เพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบ (Liquidity provider) โดยใช้ชื่อเหรียญว่า CAKE
ซึ่งการได้มานั้น ถ้าเราไม่ได้ซื้อจากในตลาดมาก็จะต้องเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบ (Add liquidity) แล้วนำ LP token ซึ่งทำหน้าที่เหมือนหนังสือสัญญาว่าเราได้เพิ่มสภาพคล่องในระบบนั้นจริงไป Stake ในหน้า Farm ต่อ ก็จะได้เหรียญ CAKE มาด้วยตัวเองแล้วครับ
ประโยชน์ของเหรียญ CAKE
โดยทั่วไปแล้วเหรียญ Governance token จะมีประโยชน์หลักเลยคือการโหวตทิศทางของ Platform ว่าควรจะปรับเปลี่ยนอะไร ผู้ที่ถือเหรียญ CAKE มากก็เหมือนมีสิทธิ์ในการชี้ทิศทางว่าควรไปทางไหน เช่น เพิ่มหรือลดปริมาณเหรียญ CAKE ที่ปล่อยออกมาในแต่ละ Block การเพิ่มหรือลด Pool ที่ไม่เป็นที่นิยมออก หรือในตัวอย่างด้านล่างคือการโหวตว่าควรจะเพิ่มเหรียญ Splinterlands(SPS) ลงใน Syrup Pool and เพิ่มคู่เหรียญ SPS-BNB ในการ Farm หรือไม่
หรือจะนำเหรียญ CAKE ไป Stake ใน Pools เพื่อรับเหรียญอื่นๆก่อนใครก็ได้
และที่พิเศษสุดๆคือการได้เหรียญใหม่ก่อนใครด้วยการลง Initial Farm Offiering(IFO) ซึ่งคล้ายๆกับการ IPO หุ้นหรือ ICO ใน Cryptocurrency นั่นเอง การที่จะลงได้ต้องเพิ่ม Liquidity คู่เหรียญ CAKE-BNB ในระบบก่อนถึงจะลงได้
หรือบางคนมองในมุมการลงทุนระยะยาวก็จะคิดว่าการถือเหรียญ CAKE เป็นการถือหุ้นของกิจการ Pancakeswap ที่มีอนาคตที่สดใส ซึ่งมี Volume การซื้อขายมากกว่า 600 ล้านดอลล่าร์ต่อวัน หรือจะมองว่ากราฟสวย ย่อเท่านี้เตรียมขึ้น Wave 3 ก็ได้!
**จะด้วยเหตุผลไหนก็แล้วแต่ บทความนี้(เกริ่นมาซะยาว)เขียนสำหรับผู้ที่สนใจจะเก็บเหรียญ CAKE ให้มากขึ้น โดยที่เราไม่ได้สนใจว่าราคา CAKE จะขึ้นหรือลงในช่วงนี้เท่าไหร่ และบทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุนนะครับ เป็นเพียงบทความเล่าวิธีการออมเท่านั้น ไม่ได้เชียร์ให้เก็บ/ซื้อ/ขาย เหรียญ CAKE ทั้งสิ้น
การเก็บเหรียญ CAKE มีได้กี่รูปแบบ
0. เก็บไว้ใน Wallet เฉยๆ
วิธีการนี้คือเราไม่ต้องเสียอะไรเลย และก็ไม่ได้ CAKE เพิ่มขึ้นด้วย เหมาะสำหรับสายเทรดที่จะเก็บไม่นาน
- ฝาก CAKE ใน Manual CAKE Pools เพื่อรับเหรียญ CAKE
ระบบจะแจก CAKE ให้ผู้ที่ลงใน Pools นี้เรื่อยๆ แต่ CAKE ที่ได้นั้นไม่ได้นำมาทบต้นให้ ถ้าอยากให้ทบต้นจะต้อง Harvest แล้ว Stake เพิ่มเอง
วิธีการนี้เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่ตั้งใจเก็บเหรียญ CAKE ไม่นานเพราะเสียแค่ค่าแก๊ส 2 ครั้งเท่านั้น คือในการฝากและถอน
ณ ตอนที่เขียนบทความ Manual CAKE ให้ APR ที่ 70.21% ต่อปี หรือ 0.19% ต่อวัน
2. ฝาก CAKE ใน Auto CAKE
วิธีการนี้ง่ายกว่าวิธีที่ 1 เพราะระบบจะนำ CAKE ที่ได้มานั้นไปทบต้นให้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องเสียค่าแก๊สซ้ำซ้อนหลายครั้งอีก โดยเราจะต้องเสียค่าเหนื่อยให้ระบบหรือเรียกว่า Performance fee 2% ของ CAKE ที่เก็บได้
วิธีการนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยากออม CAKE ในระยะยาวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปเพราะหากถอนก่อน 72 ชั่วโมงจะเสียค่าถอน 0.1%
หรือถ้าใครอยากฝากที่ Auto compound Platform อื่นก็ได้เช่นกัน แต่ผลตอบแทนที่ได้จะได้ CAKE และเหรียญ Gov token ของ Platform นั้นรวมกัน เช่น Autofarm จะแถมเหรียญ Auto มาให้ด้วย
ณ ตอนที่เขียนบทความ Auto CAKE ให้ APY ที่ประมาณ 98% ต่อปี ซึ่งก็เท่ากับ Manual CAKE แหละแค่เปลี่ยน APR เป็น APY ด้วยการทบต้นทุกวัน(ใครอยากคำนวณให้เข้าเว็บนี้ครับ https://www.aprtoapy.com/)
3. ฟาร์ม CAKE-Non CAKE
คือการจับคู่เหรียญ CAKE กับเหรียญอื่นๆเพื่อให้เราได้รับทั้ง Trading fee จากการเป็น Liquidity provider และได้ Gov token จากการฟาร์ม โดยใน Pancakeswap จะมีให้เลือกด้วยกัน 3 คู่ หรือใครจะไปฟาร์มที่อื่นก็ได้ แต่เหรียญที่ได้จะไม่ใช่ CAKE นะครับ เป็น Gov token ของ Platform นั้นๆ
จริงๆแล้ววิธีการนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเก็บ CAKE จริงๆเพราะหากราคาเปลี่ยนแปลง จำนวนเหรียญ CAKE จะต้องถูก Rebalance ใหม่ ทำให้เกิด Impermanent loss ซึ่งจะทำให้มีเหรียญ CAKE ลดลงเวลาราคาขึ้น และมีมากขึ้นเวลาที่ราคาลดลง
ณ ตอนที่เขียนบทความ APR แต่ละฟาร์มเป็นไปตามรูปด้านล่างเลยครับ
4. Leverage Farming CAKE Pools in Alpaca Finance
เกริ่นมาซะยาวอีกเช่นเดิม กว่าจะถึงเนื้อหาจริงๆของบทความนี้ได้ 55555
Concept ของการ Leverage คือการใช้เงินที่เรามีอยู่เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันเพื่อขอวงเงินมากขึ้น ทำให้เราสามารถได้รับผลตอบแทนมากขึ้นจากต้นทุนที่มีอยู่เท่าเดิม
ขอยกตัวอย่าง คือ
ในสถานการณ์ปกติเรามีเงิน 100 บาท ฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 50 บาท ใน 1 ปี คิดเป็น APR 50% ต่อปี (ดอกเบี้ย 50 บาท หาร เงินต้น 100 บาท คูณ 100)
ในสถานการณ์ Leverage 2X เรามีเงิน 100 บาทแต่สามารถใช้เงินได้ 200 บาท(100 X 2เท่า) ฝากธนาคารแห่งเดิมได้ 100 บาท คิดเป็น APR 100% ต่อปี!! (ดอกเบี้ย 100 บาท หาร เงินต้น 100 บาท คูณ 100)
พอจะเห็นภาพใช่มั้ยครับว่ามันทำงานอย่างไร ซึ่งจะโยงมาในสถานการณ์จริงแล้ว ใน Platform ของ Alpaca Finance ในขณะนี้มี CAKE pool ให้ Leverage ครับ
มองที่ CAKE pool อย่างเดียวนะครับ ขณะที่เขียนบทความ CAKE pool ที่ใช้ 2.5X Leverage และกู้ BTC มาเพื่อซื้อ CAKE ได้ APY สูงถึง 378.69% ต่อปี!!!
เทียบกับ APY ของ Auto Cake ที่ประมาณ 100% ต่อปีแล้วต่างกันถึง 278.69%!! ส่วนต่างที่มากขึ้นนี้ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากขึ้นตาม ผมจะค่อยๆอธิบายให้เข้าใจถึงหลักการทำงานทั้งหมดก่อนนะครับ แล้วจะสอนวิธีให้ดูทีหลัง
- เรามี 100 CAKE ในมือ อยาก Leverage Farm 2.5X เพราะฉะนั้นเราต้องกู้อีก 150 CAKE
- แต่ใน Alpaca ไม่มี CAKE ให้กู้!! เพราะฉะนั้นจึงต้องเลือกว่ากู้อะไรเพื่อแปลงเป็น CAKE ได้ดีที่สุด
ซึ่งในสถานการณ์ตอนนี้ BTC คิดดอกเบี้ยได้ต่ำที่สุดเพราะมีคนกู้น้อยมาก ส่วนคนฝากก็เยอะมากเช่นกัน ทำให้ Utilization ต่ำจึงคิดดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนนให้คนกู้เพิ่มหรือถอน BTC ออกจาก Pool
ผมจึงเลือกกู้ BTC มาแล้วขายเพื่อแปลงเป็น 150 CAKE ที่เราขาดไป (ระบบจะทำให้อัตโนมัติ ผมแค่เล่าหลักการทำงาน)
**ตรงนี้คือประเด็นของเรื่องนี้เลยครับ***
เรากู้ BTC มาเพื่อแปลงเป็น CAKE ในการฟาร์ม เพราะฉะนั้นหนี้ของเราคือจำนวน BTC ที่กู้มา
แปลว่าถ้าเรากู้ 1 BTC มาแปลงเป็น CAKE ไม่ว่าราคานั้นจะเท่าไหร่ สุดท้ายเมื่อเราเลิกฟาร์ม เราต้องแปลง CAKE กลับมาเป็น 1 BTC โดยที่ไม่สนใจราคา ณ ขณะนั้นเช่นกัน
แปลอีกครั้งง่ายๆคือ ถ้าวันที่เรากู้ 1 BTC ที่ราคา $30,000 เพื่อแปลงเป็น CAKE
วันที่เราเลิกฟาร์ม หากราคา 1 BTC ตกลงมาเหลือแค่ $20,000 เราก็แปลง CAKE กลับมาแค่ $20,000 เท่านั้น ส่วนต่าง $10,000 ถือว่าเราได้กำไรไปเลย
แต่ถ้าวันที่เราเลิกฟาร์ม ราคา 1 BTC ขึ้นไปที่ $40,000 เราจะต้องควักเนื้อตัวเองอีก $10,000 เพื่อซื้อให้ครบ 1 BTC ที่เรากู้มา
แปลอีกครั้งตามภาษาคนที่เรียกกันว่า เรา Short BTC อยู่ครับ
เพราะเมื่อราคา BTC ตก เราได้กำไร ถ้าราคาขึ้นเราขาดทุน
แล้วแบบนี้ถ้าราคา BTC ขึ้นเราก็เจ๊งกันพอดีน่ะสิ่?
จะบอกว่าเรามีวิธีแก้ครับ ก็คือการแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาซื้อ 1 BTC ไว้ตอนที่เราเริ่มกู้ 1 BTC นั่นแหละ แต่วิธีการนี้จะต้องใช้เงินทุนสูงมาก เลยไม่แนะนำ ที่แนะนำมากกว่านั้นคือแบ่งเงินเพียงส่วนหนึ่งประมาณ 15% มาไว้ที่ Binance หรือ FTX แล้วใช้ Future เข้าช่วย จะทำให้เราไม่ต้องใช้เงินทุนสูงครับ
ถ้าเรากู้ 1 BTC ใน Alpaca เท่ากับเรา Short 1 BTC เพราะฉะนั้น
เราเปิด Long 1 BTC ใน Binance Future ก็จะเจ๊ากันพอดีนั่นเองครับ
หน้าตาของ Future Binance จะเป็นแบบนี้ครับ ให้เลือกที่คู่ BTCUSD แบบ Quaterly 0924 เพราะจะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่อง Funding Fee
อธิบายหลักการไปแล้วหวังว่าพอจะเข้าใจนะครับว่าท่าที่ใช้จะเป็นอย่างไร เดี๋ยวมาทำของจริงให้ดูกันดีกว่า
ขั้นตอนการ Leverage Farming ใน Alpaca Finance
- กดฟาร์มที่ CAKE pool ตามลิ้งค์นี้ จะเจอหน้านี้ขึ้นมา ให้เรากรอกจำนวน CAKE ที่เราต้องการฟาร์ม
2. ในตัวอย่างจะใส่ 100 CAKE เพื่อให้ดูง่ายนะครับ
3. เลือก Leverage ตามต้องการ ในรูปขอเลือก 2.5X เพื่อความโลภ(แต่ถ้าใครยังมือใหม่ให้ใช้ Leverage 1.5X ไปก่อนครับ
4. ระบบก็จะคำนวณรายละเอียดมาว่า
- APR ที่ได้จากการหักลบดอกเบี้ยกู้แล้วจะเท่ากับ 156.86% และ Pools นี้จะทำการทบต้นให้เพราะฉะนั้นจึงคิดเป็นเรท APY ได้ที่ 378.42%
4. หน้า Summary คือสรุปให้เราเข้าใจสถานะของเราว่า
- ต้นทุนเราเริ่มที่ 100 CAKE
- ****กู้ BTC มาจำนวน 0.0572 (เพราะฉะนั้นเราต้อง Long 0.0572 BTC ใน Binance)
- แปลง BTC ที่กู้มาเป็น CAKE ทำให้เรามี CAKE ทั้งหมด 249.24(ประมาณ 250 CAKE หรือก็คือ 2.5X Leverage นั่นเอง)
5. ก่อนที่จะกดยืนยัน ให้เราไปนำเงินที่เตรียมไว้ใน Future ใน Binance แล้วกรอก Long 0.0572 BTC รอไว้เช่นกัน (ผมเลือก Leverage 20X ใน Binance เพราะจะทำให้มีพื้นที่เหวี่ยงของราคาได้มากขึ้น)
6. กดยืนยันพร้อมกันเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ใกล้เคียงกันที่สุด
7. เท่านี้ก็เสร็จสิ้นการฟาร์มแล้วครับ ไปดูที่ Your Positions จะขึ้นแบบนี้ครับ เมื่อเอาเมาส์เราไปวางบนตัวเลขสถานะของเรา จะมีรายละเอียดให้อ่านเช่นกัน
- **เรื่องสำคัญของการ Leverage คือการต้องรักษาเงินให้เราไม่โดนล้างพอร์ต ให้เราดูที่ Debt Ratio เป็นหลักว่าห้ามไปแตะ 80% (Liquidation Threshold)
- ซึ่งในกรณีนี้ คนที่เปิด 2.5X Leverage จะมี Debt Ratio เริ่มต้นที่ 60% มีที่ว่างอีก 20% Safety Buffer ให้รองรับ ซึ่ง 20% นี้ไม่ได้แปลว่าราคา BTC เหวี่ยงได้ 20% แต่มันคือมูลค่าเมื่อแปลง Position Value เป็นรูป BTC แล้วเหลืออีกกี่ % จะถึง 80% Liquidation Threshold เมื่อเทียบกับ Debt Ratio(อ่านเองยังง)
เอาเป็นว่าให้เอาเมาส์ไปวางบน Safety Buffer จะเข้าใจง่ายกว่า มันจะบอกว่าถ้ากำหนดให้ราคา BTC คงที่ CAKE จะร่วงได้ 20.57% ก่อนที่จะโดนล้างพอร์ต ผมจะขอสรุปตามนี้แล้วกันเพราะมันมีประเด็นถ้าราคา BTC ขยับอีก คือ
สิ่งที่เราต้องกังวล คือ ราคา CAKE ตกทำให้ Position Value ลด
และ BTC ราคาขึ้นเพราะจะทำให้ Debt Value สูงขึ้น
- ฟังดูเหมือนเสี่ยงมากเลยนะครับสำหรับคนที่เปิด 2.5X ด้านล่างคือตารางที่ Alpaca ทำมาให้นะครับ ถ้า 1.5X จะกู้แค่ 33% ทำให้มีที่ว่างกว่าจะถึง 80% อีกตั้ง 47%
พอร์ตผมจริงๆในรูปบอกว่าเรา Short BTC 0.0625 BTC ผมก็ไป Long 0.0625 BTC ใน Binance(ไม่ใช่ 0.0572 BTC ตามตัวอย่าง)
Current APY ผมเยอะกว่าปกติเพราะส่วนหนี้ผมเพิ่มขึ้นจาก BTC ราคาขึ้น(แต่ใน Future ผมกำไร มันก็เจ๊ากันอยู่ดี)
- นี่คือหน้าตาพอร์ต Long BTC ของผมใน FTX ครับ ที่เห็นว่า Long 0.63 BTC เพราะผมคิดว่า BTC น่าจะไปต่อเลย Long มากกว่าที่กู้ไปนิดหน่อยครับ
ก็จบไปแล้วสำหรับขั้นตอนการ Leverage Farming + Long Hedge นะครับ
จะสรุปขั้นตอนให้ฟังง่ายๆอีกรอบนะ
สรุป
- มี CAKE ที่อยากออมในมือ แบ่งขาย CAKE 15% มาเป็น USDT แล้วโอนไป Binance Future เพื่อเตรียม Long BTC
- อีก 85% CAKE นำไปฟาร์มใน Alpaca CAKE pool เลือก Leverage สูงสุด
- ก่อนจะกดฟาร์ม ให้ดูว่าสรุปแล้วเราต้องกู้กี่ BTC แล้วนำมาใส่ใน Binance
- กดฟาร์มพร้อมๆกับ Long Future เพื่อให้ได้ราคาใกล้เคียงที่สุด
- รักษาพอร์ต Alpaca ไม่ให้แตะ 80% โดยนำกำไรจากการ Long future ถอนออกมาบางส่วน แปลงเป็น CAKE แล้วนำไปคำเพิ่มใน Alpaca
- รักษาพอร์ต Future แตกด้วยการปิด Position Alpaca บางส่วน แล้วนำเงินที่ได้แปลงเป็น USDT แล้วมาโปะในพอร์ต Future
- ถ้ารักษาได้เรื่อยๆแบบนี้ก็จะทำให้เราออม CAKE ได้แบบมีประสิทธิภาพมากที่สุดแล้วครับ
- APY ที่ได้ต้องลดลง 15% เนื่องจากเราแบ่งเงิน 15% มา Long Hedge
- เหรียญ Alpaca ต้องเคลมเอง เพราะฉะนั้นสะสมให้ได้เยอะก่อนค่อยแปลงจะดีกว่า
***วิธีการที่เล่ามาทั้งหมดนี้ไม่แนะนำให้คนที่ไม่เข้าใจทำเลยนะครับ มีความเสี่ยงหลายอย่างที่ผมอาจจะข้ามไปก็ได้ เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจความเสี่ยงหลายด้านมากๆ เหมาะสำหรับคนที่เข้าใจ และมีเวลาอย่างน้อยวันละครั้งในการเชคสถานะ ผลลัพธ์ที่ได้มาจะช่วยรีด APR ออกมาได้มากยิ่งขึ้นแน่นอนครับ
**วิธีการนี้จะต่างจากวิธีทั่วไปที่เคยได้ยินกันว่า Short Hedge เพราะต้องคิดในมุมตรงข้ามกันว่าเราถืออะไรและเราเป็นหนี้อะไร ถ้าสถานการณ์ปกติที่เรามีเหรียญ 100 CAKE แล้วฝาก Auto CAKE กินดอก 100% โดยที่ไม่ต้องกังวลราคา CAKE จะขึ้นหรือลง วิธีนี้เราต้องไป Short CAKE ใน FTX Future ครับ
**ที่เขียนบทความนี้ขึ้นมาเพราะคิดตามหลักการแล้วน่าจะทำได้ ส่วนทำจริงแล้วได้กำไรจริงเท่าไหร่ผมกำลังบันทึกพอร์ตของผมอยู่ครับ ถ้ามีโอกาสอีกครั้งจะมาอัพเดทให้ฟังกันอีกรอบนะครับ
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ หวังว่าจะได้ความรู้หรือเทคนิคอะไรดีๆกลับไปนะครับ :)
— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —
31/07/2021 updated
อัพเดท 8 วันที่ฟาร์มมานะครับ
เริ่มต้น 23/7 103.4 cake($1,339.7) + $677 long btc = $2,016.7
28/7 เติม 27.185 cake(ดึงเงินจาก long btc)
30/7 เติม 5.2699 cake(เติมเพิ่ม)
31/7 ถ้า close position จะได้ 127.42 cake($1994.85) + $841.88 long btc + 11.3alpaca($10.12) = $2,846.85
กลับกันถ้าไม่ฟาร์ม alpaca แล้วฝาก manual cake apr 69.77% >> 103.4cake($1618.80) + 1.58cake($24.74)ดอก + $677 = $2,320.54
***ผม bias long btc เลยได้เยอะกว่าปกตินิดหน่อย
สรุป ฟาร์ม 2.5X alpaca ได้เยอะกว่า manual cake $526.31 หรือ 22.68% ครับ
โชคดีที่ cake ขึ้นพอดี ถ้าร่วงก็เจ็บหนัก คราวนี้รอดไป
ปล. เห็นข่าว pancakeswap จะมีอัพเดทอะไรใหญ่คืนนี้ เรามา HODL cake กันครับ 5555
10/11/2021 updated: ตอบคำถามคนที่งงว่าทำไมวันที่ 31/7 ได้ cake ลดลงนะครับ และ 378% APY คำนวณยังไง
เพราะวันที่ปิดสัญญา btc ดันราคาขึ้นดีกว่า cake ครับ แปลว่าวันแรกที่ผมกู้ btc มาแล้วขายเป็น cake กลายเป็นตอนจะแลก cake กลับต้องใช้ cake มากกว่าเดิมเพื่อซื้อ btc คืน ทำให้เงินในพิร์ต alpaca ผมน้อยลงครับ
แต่เรื่องนี้ไม่เป็นไรเลย เพราะ btc ที่กู้มา ผม long btc ใน future ไปแล้ว ทำให้ถึงแม้มจะขายถึงจากการ leverage cake แค่ผมได้กำไรจาก long btc ในมูลค่าเท่ากัน ผมเลยไม่ขาดทุนครับ
สังเกตวัน 23/7 $677 long btc แต่วันที่ 31/7 $841.88 long btc ผมได้กำไรจากการ long
แล้วทำไมฝั่ง cake มูลค่าขึ้นจาก 103.4 cake($1,339.7) เป็น 127.42 cake($1994.85) ล่ะ??
1 apr จากการฟาร์มเค้กมาเติมเพิ่มทำให้พอร์ตใหญ่ขึ้น
2 cake ก็ราคาขึ้น ทำให้มูลค่ามันเยอะขึ้น แต่ cake ขึ้นไม่เท่า btc ครับ จริงๆถ้า btc ราคาไม่ขึ้นนะ ฝั่งนี้จะมีมูลค่ามากกว่านี้อีกครับ
สรุปนะครับ btc ราคาขึ้นแรงกว่า cake ทำให้เมื่อแลก btc มาคืนได้เงินน้อยลงครับ ส่งผลให้แปลงเป็น cake ได้น้อยลง
ข้อ 2 กำไร 378% APY
ลงดูในหัวข้อ ขั้นตอนการ Leverage Farming ใน Alpaca Finance ครับ จะมีรูปแจกแจงว่ากำไรมาจากไหนบ้าง
ก็คือ farm 1x 56.52% >>> เรา 2.5X ได้ 141.31% APR
ALPACA reward apr 21.62%
ดอกเบี้ยกู้ btc APR -6.07%
total 141.31 + 21.62–6.07 = 156.86% APR แปลงเป็น APY ได้ 378.42% ครับ
— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —
12/08/2021 updated
Close position ทั้งหมดเนื่องจากราคา Cake ถึงเป้าหมายที่ $20
แลกออกจาก Alpaca ได้ $3,677.76 รวมกับเงินใน FTX ที่ทำการ Long BTC ไว้เหลืออยู่ที่ $490.04 ทั้งหมดได้ $4,167.8 ครับ ระยะเวลาทั้งหมด 21 วัน เทียบกับเงินต้นที่ลงแล้วได้กำไรประมาณ 98% รายได้ส่วนใหญ่คงมาจากราคา Cake ที่สูงขึ้นเป็นหลัก แต่การได้ Cake เพิ่มขึ้นจากการ Stake Cake ใน Alpaca ก็มีส่วนเหมือนกันครับ หากฝากไว้ใน Auto Cake หรือ Manual Cake คงได้น้อยกว่านี้แน่ๆ