คำนวณจุดคุ้มทุนการติด Solar cell ยังไง

ทุกคนรู้ว่าการติดโซลาร์เซลล์มันช่วยประหยัดไฟได้จริง แต่ถ้าเทียบกับเงินลงทุนหลักแสนตอนติดตั้ง จะคุ้มจริงรึเปล่า Thread นี้เราจะไม่ทำกันแบบนั้นครับ ผมจะอธิบายตัวแปรให้ครบเท่าที่นึกออกเลยว่าต้องดูอะไรบ้าง แต่ละบ้านจะได้คำนวณค่าไฟออกมาได้เป๊ะขึ้นครับ

เชคคร่าวๆว่าบ้านเหมาะจะติดรึเปล่า

ส่วนใหญ่บริษัทติดตั้งจะมีบริการเข้าไปสำรวจที่บ้าน แล้วจะทำอยู่ 3 อย่างคร่าวๆ คือ

  • พฤติกรรมใช้ไฟเป็นยังไง เช่น ใช้ไฟตอนกลางวันเยอะมั้ย ไฟบ้านเป็นกี่เฟส ค่าไฟต่อเดือนประมาณเท่าไหร่ ถ้ามากกว่า 3,500 บาทต่อเดือนน่าจะเริ่มคุ้ม แต่ท่าที่ผมชอบเลยคือให้ลูกค้าเปิดไฟแบบปกติแล้วเอา clamp meter วัดไฟที่ใช้แบบ Real time เลย มันตรงกว่าครับ

**ไม่แนะนำ Battery ไว้เก็บไฟใช้ตอนกลางคืน เพราะตอนนี้ราคาแพงมากและประสิทธิภาพต่ำ รออีก 5 ปี แล้วมาต่อแบตเพิ่มทีหลังจะคุ้มเงินกว่า

  • ดูทิศของหลังคา สวยที่สุดคือ หันไปทิศใต้ เพราะจะรับแสงได้ทั้งวัน ยิ่งจั่วทำมุมประมาณ 15 องศาจะยิ่งสวยมากเลยครับ ส่วนทิศดีรองลงมาก็ตะวันตก แย่สุดก็เหนือหรือตะวันออกครับ แต่ยังไงต้องดูหน้างานตามความเหมาะสมอีกทีครับ อาจจะตั้งขาบนดาดฟ้าหรือที่อื่นๆก็ได้ ยกตัวอย่างในรูปนี้ ผมเอาโดรนไปบินแล้วทำเป็นโมเดล 3D ออกมา (จริงๆใช้จาก google map ได้แต่สัดส่วนอาจคลาดเคลื่อน) จะพอกะได้ว่าติดแผงได้ตรงไหนบ้าง แล้วถ้าใส่พิกัดบ้าน จะเชคทิศแสงได้ด้วยครับว่าเป็นไง ถ้าเป็นสีเหลืองอ่อน = แสงดีมาก, ยิ่งสีเข้ม = แสงไม่ค่อยดี จะได้คิด Loss ที่เสียไปได้ตรงครับ
  • สำรวจการเดินไฟในบ้าน เช่นตำแหน่งตู้ MDB วางตรงไหน, Inverter แปลงไฟควรอยู่ตรงไหน, เดินสายไฟจากแผงลงมาจากหลังคาเข้าใต้ฝ้า หรือว่าเป็นรางเหล็กเดินแยก ถ้าลูกค้าจะติดจริง จะได้เอา survey report นี้ให้ทีมช่างเตรียมอุปกรณ์ให้ทำงานนง่ายขึ้นครับ

คำนวณจุดคุ้มทุนแบบละเอียด

🟢 จำนวนวันที่ไม่ใช้ไฟตอนกลางวัน มีกี่วัน — ยิ่งหยุดเยอะ ยิ่งคืนทุนช้า
🟢 ละติจูด ลองจิจูด ของที่อยู่ — ไว้คำนวณความเข้มแสงพื้นที่นั้นๆ
🟢 ราคาติดตั้งโซลาร์เซลล์ — ไว้เทียบว่าจะคืนทุนกี่ปี

🔵 ขายไฟคืน — ถ้าขาย จะเอาจำนวนวันหยุดที่ไม่ใช้ไฟมาคูณกับเรท 2.2 บาทต่อหน่วยครับ (แต่ต้องติดไม่เกิน 5 kW สำหรับไฟ 1 เฟส และ 10 kW สำหรับ 3 เฟส)
🔵 ค่าบำรุงรักษา — ควรล้างฝุ่นหรือสิ่งสกปรกออกจากแผงทุกๆ 6 เดือน เป็นต้นทุนในระยะยาว
🔵 ค่าไฟต่อหน่วย — เรทค่าไฟมันเป็นขั้นบันได หรือบางคนใช้เป็น TOU เพราะงั้นถ้าจะเอาเป๊ะต้องเอาเรทของแต่ละบ้านครับ
🔵 เงินเฟ้อ — ด้วยเหตุที่ต้องคำนวณไกล 25–30 ปี เลยคิดว่าใส่เงินเฟ้อไปหน่อย ข้อมูลน่าจะตรงขึ้นครับ

🔴 ขนาดการติดตั้ง — เอาเป๊ะๆ ต้องไปดูว่าใช้แผงกี่ Watt จำนวนกี่แผง
🔴 อายุแผง — ถ้า P-type จะ 25 ปี // N-type รุ่นใหม่กว่า จะ 30 ปีและคุณภาพดีกว่า ~5%
🔴 การลดทอนประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าในทางทฤษฎี — ตามปกที่เขียนว่าแผง 620 watt หน้างานจริงตลอด 30 ปี มันอาจจะได้ไม่ 100% ตลอดครับ เพราะมีเรื่องทิศแสง สิ่งสกปรก เงา ลดทอนจากการเดินสาย ฯลฯ เพราะฉะนั้นควรจะลดจาก Max capacity ไปอย่างน้อย 25%+ แล้วแต่หน้างานจริงครับ
🔴ประสิทธิภาพของแผงลดลงทุกปี — ส่วนใหญ่เค้าจะบอกว่าประกันประสิทธิภาพที่ 80% ภายใน 25 ปี แต่เอาเซฟๆก็ลดไปเหลือ 70% เลยครับ ตีต่ำๆไปก่อน

นำข้อมูลทั้งหมดมาใส่สูตรคำนวณ ผลลัพธ์จะอยู่ในข้อ 6 เช่น จุดคุ้มทุนกี่ปี, ค่าไฟที่ลดได้ต่อเดือน หรือทั้ง 30 ปี คิดเป็นเท่าไหร่ มีแถมเรื่องลดโลกร้อนไปนิดหน่อยด้วยครับเผื่อมีคน concern 🥹

ยัดลงสูตร Google sheet

ด้วยความที่แต่ละเดือน แดดที่ได้ไม่เท่ากัน เช่น ช่วงฤดูฝน/หนาว จะเมฆเยอะและมีฝุ่น แดดมันจะน้อยกว่าช่วงฤดูร้อน เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้ได้ค่าที่เป๊ะขึ้นต้องแบ่งเป็นรายเดือนให้ลูกค้าดูด้วยว่าช่วงไหนของเดือนมันจะผลิตไฟได้เยอะหรือน้อย

เพราะฉะนั้นเราจะคำนวณเป็นเดือนเพื่อความแม่นยำที่สุดครับ แต่ละเดือนมีจำนวนวันทำงานต่างกันด้วย เลขจะได้เป๊ะขึ้น

ซึ่งจำนวนชั่วโมงที่กำลังผลิตสูง (Peak sun hour) มันคือค่าเฉลี่ยแดดแบบเต็มที่ใน 1 วัน คำนวณจาก NREL (หน่วยงานด้านพลังงานในสหรัฐ) ก็เอาละติจูด ลองจิจูด ใส่เข้าไปเลย

พอได้จำนวนวันที่ใช้ไฟ ก็จะเหลือวันที่ไม่ใช้ไฟด้วย ตรงนี้ถ้าขายไฟคืนก็เอามาบวกเพิ่มครับ

สรุป

🌳 รูปที่ 1 : แต่ละเดือนใน 1 ปี ลดค่าไฟกี่หน่วย ตีเป็นกี่บาท

🌳 รูปที่ 2 : คิดต่อไปอีก 24–29 ปีโดยมี Loss จากแผงที่ลดลง, เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น, ค่าล้างแผงทุกปี เข้าไป ตรงเส้นสีส้ม จะเห็นว่ามันจะเริ่มจากติดลบกี่แสนบาทตามค่าติดตั้ง ค่อยสูงขึ้นจนเหลือ 0 (เท่าทุน) ก็ใช้เลขนั้นเป็น “จุดคุ้มทุน” ครับ แล้วถ้าดูไปจน 30 ปี ก็จะเห็นว่าได้กำไรเท่าไหร่ด้วย

🌳 รูปที่ 3: Carbon credit สะสมที่โซลาร์เซลล์ผลิตได้ ตอนนี้ยังใช้ขายไม่ได้ แต่อนาคตผมกับแนนกำลังหาวิธีทำให้รายย่อยใช้ประโยชน์จากมันได้อยู่ครับ

ค่าพวกนี้แสดงผลในรูปก่อน ตรงหัวข้อ 6 เรียบร้อยครับ

การตัดสินใจ

หลังจากคำนวณทุกอย่างให้เรียบร้อยแล้ว ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับลูกค้าแล้วว่าจะตัดสินใจติดรึเปล่า จะผ่อนดีมั้ย หรือถ้ารออีกหน่อย ต้นทุนการติดตั้งก็อาจจะลดลง แต่ระหว่างรอ ค่าไฟก็จะยังแพงอยู่ เป็นค่าเสียโอกาสที่ต้องแลกเหมือนกัน

จากประสบการณ์ การคืนทุนโดยปกติมันจะอยู่ในช่วง 3–5 ปีกว่าๆ กำลังสวยเลยครับ ยิ่งติดเยอะยิ่งคืนทุนไวเพราะค่าแรงมันจะเฉลี่ยลงมา ถ้าลากไป 6 ปีขึ้นไป มันจะต้องดูและว่าค่าติดตั้งแพงไปมั้ย หรือว่าทิศที่ติดตั้งมันไม่ได้จริงๆ ก็ต้องลองตัดสินใจดูครับ

ถ้าอยากปรึกษารายละเอียดทัก inbox หรือ Add line @wiseenergy ถ้าเรื่องไหนช่วยได้ ยินดีช่วยครับ 🙏

ปล. ตัวเลขทั้งหมดเป็นการประมาณการเท่านั้น อาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ครับ

--

--

Parit Boonluean (พริษฐ์ บุญเลื่อน)

Co-founder Wise energy solution. No types of articles, Depend on subject I am interesting with, mostly book summary, economics, lifestyle, DeFi, Solar energy